เนื่องจากว่าเหล่านักเล่นเกมส์หรือบุคคลทั่วไปที่มีความนิยมในการดูสเปกความแรงของเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี โน้ตบุ๊ค แล็ปทอป ของตัวคุณเอง หรือใครที่มีความชอบที่จะทำการเปิด On-Screen Display (OSD) มาอวดความแรงของเครื่องที่ตัวเองครอบครองอยู่ วันนี้เรามีโปรแกรมเช็คสเปก PC Laptop ตัวนิยม คุณควรติดตั้งไว้บนเครื่องของคุณ โปรแกรมนี้จะทำงานบน Windows 10 เท่านั้น
1.โปรแกรม CPU-Z
ตัวนี้จะเป็นโปรแกรมที่มีความเป็นมาตรฐานที่สุดในบรรดาที่เรามานำเสนอเลย โปรแกรมนี้มีการพัฒนากันต่อเนื่อง เปิดใช้งานมามากกว่า 20 ปีแล้ว ความสามารถของตัวโปรแกรมเอาไว้ดูและวิเคราะห์ในส่วนของข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีโน้ตบุ๊คหรือแล็ปทอปของคุณ ได้ครบถ้วน ถือว่าเป็นโปรแกรมสามัญประจำเครื่องเลยทีเดียว
ตัวโปรแกรมนี้มีความสามารถที่ครอบคลุมตั้งแต่เช็คสเปกไปจนถึงวิเคราะห์ ความละเอียด ความเร็ว แกนซีพียู บัส รวมไปถึงสามารถทดสอบการทำงานประสิทธิภาพของซีพียูเบื้องต้นได้ง่ายๆ ฟังก์ชั่นที่ตัวโปรแกรมให้มาจะมีทั้งหมด 7 แถบดังนี้
- CPU : หัวข้อแถบนี้จะทำการแสดงผลของสเปก CPU ภายในเครื่องของคุณ ตัวโปรแกรมจะสามารถอ่านชื่อรุ่น Codename ความเร็วของบัส ตัวแคช และตัวคูณ รวมไปถึงกระบวนการผลิตได้เลย
- Cache : หัวข้อแถบนี้จะทำการแจ้งข้อมูล Cache ที่ฝั่งอยู่ในซีพียูแต่ละรุ่น แจ้งรายละเอียดได้ตรงรุ่นอย่างถูกต้อง
- Mainboard : หัวข้อแถบเมนบอร์ดนี้จะบอกถึงว่าเครื่องของคุณใช้ชิปเซตอะไรอยู่ จะแจ้งรายละเอียดในส่วนชื่อและรุ่นซีรี่ย์ PCIe Interface ของเมนบอร์ดเครื่องคุณอย่างถูกต้อง
- Memory : หัวข้อแถบส่วนของเมมโมรี่หรือแรม บอกถึงขนาดความจุที่คุณมีในส่วนของแรมและความเร็วบัส บอกข้อมูลในเชิงลึกๆได้คือสามารถบอกไปถึง สล็อตที่คุณได้ทำการติดตั้ง บอกชื่อผู้ผลิต และวันเดือนปีที่ทำการผลิตได้
- SPD : แถบนี้จะบอกถึงรายละเอียดช่องใส่แรม รายงานผลการติดตั้งว่าคุณใส่แรมไปในสล็อตไหนบ้าง แจกแจ้งรายละเอียดแบบมาตรฐาน JEDEC ซึ่งข้อมูลนั้นมีความแม่นยำและถูกต้อง
- Graphic : หัวข้อแถบด้านชิปเซตประมวลผลกราฟฟิก หรือการ์ดจอ(GPU) ตัวโปรแกรมจะมีความสามารถบอกถึงข้อมูลได้เลยว่าคุณใช้การ์ดจอแบบไหนอยู่ เป็นการ์ดจอแยกหรือออนบอร์ด ข้อมูลในส่วนตรงนี้อ่านได้อย่างถูกต้องแม่นยำดีพอสมควร คุณสามารถนำข้อมูลในส่วนนี้ไปอัพเกรดส่วนโปรแกรมได้ตรงรุ่นอย่างแม่นยำแน่นอน
- Bench : เป็นแถบที่เอาไว้ทดสอบในด้านการทำงานของซีพียูตัวเครื่อง กระบวนการทดสอบจะมี ทดสอบในด้านความเร็วของสัญญาณนาฬิกา ทดสอบความเสถียรของการทำงานซีพียู ทดสอบการเปรียบเทียบกับซีพียูในรุ่นต่างๆในรูปแบบของ Single-thread และ Multi-thread
ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.cpuid.com
2.โปรแกรม GPU-Z
โปรแกรมเช็คสเปกตัวนี้จะมีหลักการทำงานที่คล้ายๆกับตัวโปรแกรม CPU-Z ส่วนที่จะไม่เหมือนกันก็ตรงที่ โปรแกรมตัวนี้จะวิเคราะห์บอกรายละเอียดส่วนของด้าน การ์ดจอ หน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU) เสียมากกว่า หลักการทำงานของตัวโปรแกรมจะทำบอกถึงข้อมูลของการ์ดจอเครื่องของคุณ วัดการทำงานด้วยตัวเซนเซอร์สามารถบอกถึงข้อมูลในเชิงลึกอย่างแม่นยำ ทำการทดสอบได้เช่นกัน
ส่วนใครที่ต้องการหาซื้อตัวการ์ดจอจากร้านออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะช่องทางใด กลัวว่าจะได้การ์ดจอจีนแดงบ้าง การ์ดจอของปลอมบ้าง กลัวการโดนหลอก โปรแกรม GPU-Z สามารถเป็นผู้ช่วยให้คุณได้ ในตัวโปรแกรมจะมีฟังก์ชั่นที่เอาไว้ตรวจสอบการ์ดจอปลอมย้อมแมวมาจากไหนโปรแกรมนี้สามารถตรวจจับได้ ไม่ว่าจะเอาการ์จอตัวเก่ามาลงไบออสใหม่ก็ตรวจจับได้ทันที
ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.techpowerup.com
3.โปรแกรม HWinfo
ส่วนตัวโปรแกรม HWinfo ก็มีความสามารถในการเช็คสเปกที่ดีอ่านข้อมูลได้หลากหลายอีกตัวหนึ่งเลย หลักการทำงานจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
- ส่วนที่หนึ่ง System Summary
เป็นการสรุปภาพรวมของสเปกตัวเครื่องที่คุณมีอยู่ ให้ข้อมูลที่มีความแม่นยำเช่นกันกับโปรแกรมตัวอื่นๆ
- ส่วนที่สอง Full Report เป็นการแสดงข้อมูลของอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องเรา มีการทำงานที่คล้ายกับการเปิด Device management ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows แต่โปรแกรมนี้จะให้ข้อมูลในเชิงที่เราเข้าใจได้ง่ายกว่า
- ส่วนที่สาม Active sensor ส่วนนี้โปรแกรมจะทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของการทำงานด้านเซนเซอร์ของอุปกรณ์ต่างๆอย่างเช่น การทำงานของซีพียู แรม การ์ดจอ เมนบอร์ด พัดลม โปรแกรมจะทำการวิเคราะห์และสรุปออกมาแบบลิสต์รายการให้เราได้ดูระบบการทำงานแต่ละตัว
ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.hwinfo.com
4.โปรแกรม HWMonitor
โปรแกรมนี้จะมีความสามารถบอกหน้าที่การตรวจจับของระบบเซนเซอร์ตัวอุปกรณ์ในเครื่องได้ไม่ว่าจะเป็นตัวซีพียู การ์ดจอ แรม พัดลม เมนบอร์ด ซึ่งข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้องแม่นยำเช่นกัน
ดาวน์โหลดได้ที่ https://www.cpuid.com/softwares/hwmonitor.html
5.โปรแกรม AIDA64
หลักการทำงานของโปรแกรมนี้จะมีความคล้ายกับการทำงานของโปรแกรม HWinfo มีความแตกต่างตรงที่ส่วนของ AIDA64 ที่จะให้พร้อม Benchmark มา สามารถทำการทดสอบความเร็วของฮาร์ดดิสก็ได้ ความเร็วของแรมและทดสอบความแรงของการ์ดจอได้ ข้อพิจารณาคือตัวโปรแกรมไม่ฟรี แต่สามารถทดลองใช้ได้ 30 วัน จากนั้นจะมีค่าใช้งานในการใช้งาน
ถ้าท่านอยากจะใช้งานโปรแกรมตัวนี้จะมีค่าใช้จ่ายหลังการทดลองใช้ 30 วัน ราคามันค่อนข้างสูงถึง คือ $39.95 หรือประมาณ 1,300 บาท แต่จะใช้งานได้มากถึง 3 เครื่องต่อการจ่ายหนึ่งครั้ง ใครที่ต้องการใช้เวอร์ชั่นตัวเต็มที่สมบูรณ์ ก็หาเพื่อนมาหารค่าใช้จ่ายกันได้เลยนะ
ดาวน์โหลดที่ https://www.aida64.com
ที่มาข้อมูล thlmobilemall
Notebookspec.com